"กาแฟ" ดีหรือแย่..ต่อสุขภาพ
 

"ที่ผ่านมาเราเชื่อกันว่ากาแฟมีผลต่อโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน ทำให้เป็นหมัน ทำให้หญิงตั้งครรภ์

แท้งหรือทารกน้ำหนักน้อย เป็นต้น
แต่การวิจัยในระยะหลังระบุว่าการดื่มกาแฟเพียงวันละ 1-2 ถ้วย ไม่น่าจะมี

ปัญหา
และอาจให้ผลดีหากดื่มให้เป็น แต่ถ้ามากเกินไปก็ไม่ดี"

กาแฟกับโรคหัวใจ

  • ผลการศึกษากับคนมากกว่า 400,000 คน ไม่พบว่าการดื่มกาแฟทั้งชนิดที่มีกาเฟอีน และชนิดสกัดกาเฟอีนออก
    เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

  • นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ติดตามดูผู้หญิง27,000คน เป็นระยะเวลา15ปีพบว่าการดื่มกาแฟปริมาณน้อยๆ

    ประมาณวันละ
    1-3ถ้วย ลดความเสี่ยงโรคหัวใจให้น้อยลง26%อย่างไรก็ตาม หากดื่มกาแฟปริมาณมากกว่านี้จะไม่ได้ผลดี
    ในการลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
     

กาแฟกับความดันโลหิต

  • เว็บไซต์มูลนิธิโรคหัวใจและสโตรคแคนาดา ระบุว่าคนที่ไม่ได้ดื่มกาแฟเป็นประจำ มีแนวโน้มว่ากาเฟอีนจะทำให้

    ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วคราว

  • ส่วนคนที่ดื่มในปริมาณมากเป็นประจำ เช่น กาแฟวันละ 5 ถ้วย มีส่วนทำให้ความดันโลหิตตัวบนเพิ่มขึ้น 2.4 มิลลิเมตรปรอท และความดันโลหิตตัวล่างเพิ่มขึ้น 1.2 มิลลิเมตรปรอท

  • แต่ถ้าดื่มเป็นประจำในปริมาณน้อยๆ ผลกระทบยังไม่แน่นอน มีการศึกษาที่ติดตามพยาบาล 155,000 คนที่ดื่มกาแฟมานาน

    10 ปี พบว่าทั้งกาแฟชนิดที่มีกาเฟอีนและชนิดที่สกัดกาเฟอีนออกไม่ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น

  • นอกจากนี้คณะวิจัยจาก John Hopkinsศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน ติดตามไป 33 ปี ก็พบเช่นกันว่ากาเฟอีนมีผลต่อความดันเลือดน้อยมาก

กาแฟกับมะเร็ง

  • เมื่อปี 2524 คณะนักวิจัยจาก John Hopkins ระบุว่า กาแฟเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน อย่างไรก็ตาม

    การศึกษาต่อมาพบว่ากาแฟไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ
    ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับอ่อน คือ บุหรี่

  • การศึกษากับผู้หญิงสวีเดน 59,000 คน ยังพบว่ากาเฟอีนไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม

  • ยังมีรายงานด้วยว่าการดื่มกาแฟอาจจะมีผลป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • นอกจากนี้ยังมีรายงานจาก World Cancer Research Fund ว่าการดื่มกาแฟปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง

 กาแฟกับกระดูกพรุน

  • จากการศึกษาพบว่ากาแฟทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงเล็กน้อยประมาณ 27 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับนม 1-2 ช้อนโต๊ะ
    และไม่ทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น

  • ปริมาณแคลเซียมเท่านี้ไม่น่าจะทำให้คนที่กินแคลเซียมมากพอเป็นโรคกระดูกพรุน หากกังวลก็สามารถเติมนมไขมันต่ำ
    หรือไม่มีไขมันลงไปในกาแฟเพื่อชดเชย
    หรือดื่มนมเพิ่มสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 ถ้วยขึ้นไป

กาแฟกับเบาหวาน

  • จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น 15% กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ฮอร์โมน

    อะดรีนาลีนเพิ่มขึ้น
    ทำให้หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว

  • แต่ก็มีการวิจัยจากฟินแลนด์และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่พบว่า คนที่ดื่มกาแฟมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

    ประเภทที่
    2 น้อยกว่าคนที่ไม่ดื่มกาแฟ

กาแฟกับการตั้งครรภ์และการเป็นหมัน

  • ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะเป็นผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แต่จากหลักฐานยังไม่พบผลเสียดังกล่าว นักวิจัย

    แนะนำว่าการดื่มกาแฟปริมาณน้อยๆ
    ขณะตั้งครรภ์ไม่เกิดผลเสีย แต่หากงดได้ก็น่าจะงด

  • ส่วนการเป็นหมันนั้น พบว่าหากดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 1 แก้วจะมีโอกาสเกิดการเป็นหมันมากขึ้น

กาแฟกับการขาดน้ำ

  • จากการศึกษาพบว่า การดื่มกาแฟไม่เกิน 550 มิลลิกรัม หรือประมาณ 5 ถ้วยครึ่ง ไม่ออกฤทธิ์ขับปัสสาวะ การดื่มกาแฟ

    ทำให้ปัสสาวะมากขึ้นเทียบเท่ากับการดื่มน้ำในปริมาณเท่าๆ
    กัน

  • อย่างไรก็ตาม กาเฟอีนจะมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะหากดื่มเกินครั้งละ 575 มิลลิกรัม หรือประมาณ 6 ถ้วย ดังนั้น

    ขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกายไม่ควรดื่มกาแฟในปริมาณมาก
    เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้

กาแฟกับน้ำหนักตัว

  • กาเฟอีน 100 มิลลิกรัมเพิ่มการเผาผลาญพลังงานได้ประมาณวันละ 75-100 กิโลแคลอรี แต่ไม่มีการศึกษาใดที่พบว่า

    กาแฟช่วยให้ลดน้ำหนักได้ในระยะยาว

  • ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาจากชาวอเมริกัน 58,000 คน ติดตามไป 12 ปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่

    ดื่มกาแฟมากขึ้น กลับมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
    สาเหตุอาจมาจากน้ำตาล นม และครีมเทียม ที่ใส่ลงไปในกาแฟ

กาแฟกับสมรรถภาพของร่างกาย

  • กาเฟอีนเพิ่มความสามารถในการออกแรง-ออกกำลัง หรือเล่นกีฬา โดยเพิ่มความอดทนหรือความสามารถในการออกแรง

    ได้นานขึ้น
    กลไกที่กาเฟอีนทำให้สมรรถภาพของร่างกายดีขึ้น น่าจะมาจากการออกฤทธิ์ทำให้อาการปวดลดลง เช่น

    ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเอ็น

  • กลไกอีกอย่างหนึ่งของกาเฟอีน คือ การทำให้ร่างกายเปลี่ยนระบบเผาผลาญ โดยลดการเผาผลาญแป้งและน้ำตาล

    และเพิ่มการเผาผลาญไขมัน
    ทำให้เราออกแรง-ออกกำลังได้มากขึ้น

กาแฟกับอารมณ์

  • การศึกษาพบว่ากาแฟปริมาณน้อยๆ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม เทียบเท่ากาแฟสด 480 มิลลิลิตรหรือเกือบครึ่งลิตร ทำให้สดชื่น

    มีพลัง
    และรู้สึกอยากเข้าสังคมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากดื่มกาแฟมากกว่านี้อาจทำให้เครียดง่าย และทำให้ปวดท้องหรือไม่

    สบายท้องได้

  • การศึกษาในคนที่อดนอนพบว่า กาแฟจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ไม่ง่วง ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวมากขึ้น

    ตอบสนองต่อสิ่งเร้าเร็วขึ้น ความจำดีขึ้น สมาธิดีขึ้น และยังทำให้ความสามารถในการทำงานดีขึ้น แต่ไม่ช่วย

    เพิ่มความสามารถในคนที่นอนมากพออยู่แล้ว

  • กาแฟยังช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ลดอาการปวดเมื่อยเนื่องจากไข้หวัด ลดอาการซึมเศร้าและคลายความวิตกกังวล

    และช่วยให้ผู้สูงอายุกระฉับกระเฉงกระชุ่มกระชวยกว่าคนในวัยเดียวกันที่ไม่ ได้ดื่มกาแฟ

กาแฟกับโรคอื่นๆ

  • การศึกษาพบว่า กาแฟชนิดที่มีกาเฟอีนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพาร์คินสันได้ประมาณ 30% แต่กาแฟชนิดสกัด

    กาเฟอีนออก จะไม่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคนี้

     
  • การดื่มกาแฟเป็นประจำยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

     
  • นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3แก้ว จะช่วยบรรเทาอาการหอบหืด

             
    อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเตือนว่าการศึกษาเหล่านี้ยังเป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัย

    เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป
    คอกาแฟอาจจะดื่มกาแฟได้อย่างคล่องคอมากขึ้น แต่ก็อย่าโหม

    ดื่มกาแฟ
    โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรค ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจก่อนดื่ม

             
    เหมือนดังที่ ศาสตราจารย์ซิลวีโอ การัตตีนี หัวหน้าสถาบันมารีโอ เนกรี แห่งมิลาน และบรรณาธิการหนังสือ

    Caffeine, Coffee and Health กล่าวไว้ว่า การดื่มกาแฟไม่มีผลเสีย ตราบใดที่คุณดื่มในปริมาณพอเหมาะ

    เช่นเดียวกับทุกอย่างที่เรากินและดื่ม
 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Devil