ลักษณะทางพฤษศาสตร์และการเพาะปลูก |
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ข้าวโพดเป็นพืชพวกหญ้า มีลำต้นแข็งแรง และตั้งตรงคล้ายต้นอ้อย ความสูงของลำต้นแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ อาจมีความสูงตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ไปจนถึง 6 เมตร ลำต้นเป็นปล้องๆ อาจมีตั้งแต่ 8-20 ปล้อง ใบยาวเรียวเกาะติดกับต้น ฝักข้าวโพดจะเกิดตรงข้ออยู่ตรงส่วนกลางของลำต้น โดยมีเปลือกเป็นกลีบบางๆ สีเขียว มีหลายชั้นห่อหุ้มอยู่เปลือกชั้นนอกมีสีเขียวแก่กว่าชั้นใน ปลายฝักมีเส้นเล็กๆ สีเขียวอ่อนใสบางเหมือนเส้นผม เรียกว่าไหมข้าวโพด หรือ ฝอยข้าวโพด ข้าวโพดต้นหนึ่งอาจมีหลายฝักก็ได้ และเมล็ดข้าวโพดที่เรารับประทานมีหลายสี เช่น สีนวล สีเหลือง สีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยจะเกาะติดอยู่ตรงส่วนที่เป็นแกนกลางเรียกว่าซักข้าวโพด | วิธีการเพาะปลูก
ข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่จะขึ้นได้ดีในดินร่วนซุยปนทราย มีการระบายน้ำดี มีความชื้นเพียงพอ เป็นพืชที่ใช้น้ำค่อนข้างน้อย อุณหภูมิที่ข้าวโพดสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุดคือที่ 27องศาเซลเซียส
"แหล่งปลูกข้าวโพดที่สำคัญของไทยอยู่ในภาคเหนือ รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตามลำดับ ส่วนวิธีการปลูกนั้นง่ายนิดเดียว เพียงหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ลงในหลุมดินร่วนที่ขุด 3-5 เมล็ด ระยะระหว่างหลุม ห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้างอกให้ถอนออกเหลือหลุมละ 1 ต้น เมื่อข้าวโพดมีอายุ 30-45 วัน ก็สามารถเก็บฝักอ่อนมารับประทานหรือจะทิ้งไว้ประมาณ 60-80 วัน ก็จะได้ฝักแก่ที่มีเมล็ดสีเหลืองนวล หรือสีครีมอ่อน แต่ถ้าเป็นข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์อายุการเก็บเกี่ยวฝักแก่จะนานกว่านี้" |
|